top of page

สิงห์คำคาบหาง (เนื้อทองเหลือง) Golden Lion Catching Its Tail. (brass material)

 

เสน่ห์มนต์ขลังแห่งศาสตร์และศิลป์ อาจารย์อินทร์แก้วออกแบบ คิดแบบ ปั้นแบบที่อิงจากตำราจากบทคาถา กระทั่งออกมาเป็น "สิงห์คำคาบหาง" หรือ "สิงห์คำแก้วมณี" จากตำนานพญาสิงห์ทองคำที่ถือกำเนิดขึ้นจากตบะบารมีฤทธิ์เดชเดชาของพระฤาษีทั้ง9

The mystical charm of artistry and craftsmanship is evident in how Arjarn Inkaew meticulously designs, conceptualizes, and sculpts based on ancient scriptures and magic incantations. This process has resulted in the creation of the "Golden Lion Catching Its Tail" or "Singh Kham Kaew Manee," inspired by the legend of the Golden Lion that originated from the spiritual power and authority of the 9 hermits.

สิงห์คำคาบหาง (เนื้อทองเหลือง) Golden Lion Catching Its Tail. (brass material)

1.500,00฿Preis
  • สิงห์คำคาบหาง, อาจารย์อินทร์แก้ว, สำนักดงพญาธรรม

    เสน่ห์มนต์ขลังแห่งศาสตร์และศิลป์ อาจารย์อินทร์แก้วออกแบบ คิดแบบ ปั้นแบบที่อิงจากตำราจากบทคาถา กระทั่งออกมาเป็น "สิงห์คำคาบหาง" หรือ "สิงห์คำแก้วมณี" จากตำนานพญาสิงห์ทองคำที่ถือกำเนิดขึ้นจากตบะบารมีฤทธิ์เดชเดชาของพระฤาษีทั้ง9
     

    เมื่อมีคนถามอาจารย์อินทร์แก้วว่าทำไมถึงสร้าง อาจารย์อินทร์แก้วก็ตอบไปว่าลองอ่านคาถาดูเอา ซึ่งเนื้อหาของคาถาที่ใช้เสกมีใจความดังนี้ "อมพระยาป่า อมพระยาเจ่ากูเฮย อมพระยาราชชะสีเจ้ากูเฮย จักฮ้องใส่ช้างกะแตกทั้งไพร จักฮ้องใส่ไก่กะแตกตื่นทั้งป่า อมพระยาราชชะสีเจ้าป่ากูเฮย ฮ้องไปสามโยชเงินแตกจ้าวแล่นมา ฮ้องขึ้นฟ้าเทวะดากะโยนคำลงให้ กูมองไปใบไม้เกิดเป็นแก้ว กูฮ้องไปต้นหญ้าเกิดเป็นคำ เชิญเย่อเชิญเจ้าพระยาราชสีตัวมงคล เจ้านั้นชื่อป่านราชชะวัตแก้ว เจ้านั้นชื่อคำแก้วมณี กูจักปลุกฤาษีชีไพรทั้งเก้าให้มาปลุกเอาเจ้าคำแก้วมณีกูให้ตื่น ตื่นแล้วให้คาบเงินมาสู่กูเฮย ตื่นแล้วให้คาบแก้วมาสู่กูเฮย ให้นำคำมาถวายกูดั่งใบไม้ในป่า ให้นำเงินมาถวายกูดั่งเม็ดงาในบุ่ง  กูจักกินสิบปีบ่ลด กูจักกินสิบปีบ่มีเสี่ยง กูจักกินทั้งสาวเนื้อเกี้ยงกะให้สมยอมกูเนอ กูย่างเข้าบ้านให้คนเอาข้ามสู กูย่างหาชู้ให้หอบสิ่นแล่นมาหา กูไปสู่พระยาให้เอาของมาต้อน กูย่างไปหาสมภานกะให้นำของต้อนมาฝาก อมพระยาปากดัง กูจักดังไปสามโลก กูจักโชคสามแสน คนมาแหนบ่ขาด ปัญญาฉลาดกว่าคน ตนกูนี้มีกายเป็นทอง ตีนกูนี้เหยียบแก้วมาคูณ"
     

    พกพาไว้บูชาเป็นตบะและอำนาจ มีทั้งอำนาจปกครองบริวารลูกน้อง เจ้านายใช้ คุมบริวารได้ดี ลูกน้องรักใคร่เชื่อฟังโดยสดุดี, ลูกน้องใช้ เจริญก้าวหน้าในหน้าที่การงาน เจ้านายเอ็นดู ทั้งยังเป็นเสน่ห์เมตตา เป็นเสน่ห์อย่างแรง คนรอบข้างรักใคร่ อธิษฐานเรื่องรักๆใคร่ๆได้ผลถูกใจ ค้าขายเจรจาง่ายขายคล่อง เหมาะอย่างยิ่งสำหรับไว้กำราบพวกชอบต่อรอง สยบได้ทุกรูปแบบ อธิษฐานขอความมั่งมี และความสำเร็จได้ทุกเรื่อง ปรารถนาเรื่องใดให้อธิษฐานบอกกล่าวสิงห์คำคาบหางนี้ได้ เพราะเป็นของมีตัวมีตน พร้อมรับฟังและช่วยเหลือผู้ที่ศรัทธาอย่างเต็มที่เต็มกำลัง
     

    "สิงห์คาบหาง" เป็นสัญลักษณ์มงคลที่มีความหมายลึกซึ้งทั้งในด้านศิลปะและเชิงสัญลักษณ์ แสดงถึงพลังอำนาจในการควบคุม และการคุ้มครองป้องกัน ในบางตำนานและความเชื่อของคนโบราณ การที่สิงห์คาบหางของตัวเองไว้ในปาก ยังสื่อถึงความอุดมสมบูรณ์ บริบูรณ์ด้วยโภคะสมบัติ ด้วยบุญเก่าที่สั่งสมมา ดั่งสำนวนที่ว่า "คาบช้อนเงินช้อนทองมาเกิด" คือเกิดมาก็มีทรัพย์สมบัติพรั่งพร้อมทันที
     

    ในทางพุทธศาสนา “สิงห์” ยังหมายถึงความเจริญรุ่งเรืองในภายภาคหน้า ดั่งความศิวิไลในยุคของพระศรีอริยเมตไตรย การสร้างวัตถุมงคลรูปสิงห์จึงเป็นการอ้างถึงนามของพระพุทธเจ้าในอนาคตกาล ทรงพระนามว่า “พระศรีอริยเมตไตรย” ผู้มีแม่เลี้ยงเป็น “ราชสีห์” ตามตำนานการกำเนิดของ พระพุทธเจ้าทั้ง ๕ พระองค์ จากพญากาเผือกสองตัวผัวเมีย ในสมัยต้นปฐมกัป:

    องค์ที่ ๑ มีพระนามว่า พระกกุสันโธ เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็น "ไก่"

    องค์ที่ ๒ มีพระนามว่า พระโกนาคมโน เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็น "นาค"

    องค์ที่ ๓ มีพระนามว่า พระกัสสโป เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็น "เต่า"

    องค์ที่ ๔ มีพระนามว่า พระโคตโม เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็น "โค"

    องค์ที่ ๕ มีพระนามว่า พระศรีอาริยเมตไตรโย เพราะตามนามแม่เลี้ยงเป็น "ราชสีห์"

  • Golden Lion Catching Its Tail by Arjarn Inkaew, Dong Phaya Tham Magic Academy.

    The mystical charm of artistry and craftsmanship is evident in how Arjarn Inkaew meticulously designs, conceptualizes, and sculpts based on ancient scriptures and magic incantations. This process has resulted in the creation of the "Golden Lion Catching Its Tail" or "Singh Kham Kaew Manee," inspired by the legend of the Golden Lion that originated from the spiritual power and authority of the 9 hermits.
     

    Carry and worship it for spiritual strength and power. It grants authority over subordinates, allowing superiors to control their staff effectively, with subordinates showing respect and obedience. For employees, it aids in career advancement and earns the favor of their superiors. It also provides charm and kindness, making it a powerful attractant. Those around you will be affectionate. Prayers related to love and relationships will yield satisfying results. In business, negotiations will be smooth and profitable. It is especially effective for dealing with those who like to bargain or challenge, as it can overcome any form of opposition. You can pray for wealth and success in all matters. Whatever you desire, you can ask this Golden Lion Catching Its Tail, as it is a tangible presence ready to listen and assist those who are devoted, with full commitment and strength.
     

    "Lion Catching Its Tail" is a auspicious symbol with deep significance both artistically and symbolically. It represents the power of control and protection. In some ancient legends and beliefs, a lion holding its own tail in its mouth also signifies abundance and prosperity, reflecting the accumulation of past merits. This is akin to the saying "Born With A Silver Spoon In One's Mouth," meaning someone is born with wealth and resources readily available.
     

    In Buddhism, the lion symbolizes the "Golden Age" during the era of Amoghasiddhi Buddha (Maitreya). The lion amulet is crafted to honor the name and divine grace of Amoghasiddhi Buddha, who is associated with the lion through his stepmother. The five Buddhas, born from a pair of white crows in ancient times, are represented as follows:

    1. Vairochana, who was nourished by a "Chicken".

    2. Akshobhya, who was nourished by a "Naga".

    3. Ratnasambhava, who was nourished by a "Turtle".

    4. Gautama (Amitabha), who was nourished by a "Cow".

    5. Amoghasiddhi (Maitreya), who was nourished by a "Lion".

bottom of page